โครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไปครั้งที่๑๐/๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑-๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ พระเดชพระคุณพระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ.,ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระมอบหมายให้ พระครูภาวนาวรบัณฑิต วิ.,ผู้อำนวยการส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรมพร้อมด้วยบุคลากรและเจ้าหน้าที่พระวิปัสสนาจารย์นำโยคีผุ้ปฏิบัติธรรมทำวัตรสวดมนตฺ์และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสว้นคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑.เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสว้นคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒.เพื่อถวายเป็นจาริยบูชาแด่บูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๓.เพื่อให้นิสิตได้ฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พ.ศ.๒๕๔๗
๔. เพื่อให้นิสิต และประชาชนทั่วไปได้อบรมอินทรีย์ให้เจริญแก่กล้า ตามกำลังความสามารถของแต่ละรูป/คน
๕. เพื่อให้นิสิตและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้น
๖. เพื่อให้นิสิตและประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง
๗. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันวิปัสสนาธุระ ว่าด้วยการบริการวิชาการแก่สังคม
กิจกรรมประกอบไปด้วยการทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ การสอบอารมณ์กรรมฐาน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ทั้งสิ้น ๑๓๐ รูป/คน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติวิปัสสนาธุระเป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนควบคู่กับ คันถธุระ การศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา “คันธุระ” การปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดมาพร้อมกับการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปียมหาราชรัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง การศึกษาพระไตรปิฎกนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงของพระสงฆ์อยู่แล้ว ส่วนการศึกษาวิชาชั้นสูงนั้นน่าจะหมายถึงการศึกษาวิชาการ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติและเผยแผ่พระศาสนาควบคู่กันไปกล่าวเฉพาะด้านพระศาสนา วิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ นอกจาก จะมีความเป็นผู้นำด้านความรู้ในพระไตรปิฎกแล้ว ยังจะต้องพัฒนาตนให้เป็นพระสงฆ์ในอุดมคติ ด้วยการพัฒนาตนนั้นจะต้องอาศัยหลักการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเพื่อฝึกฝนอบรม โสฬสญาณ ญาณ ๑๖ อันเป็นวิขาชั้นสูงให้เกิดขึ้นในขันธสันดาน จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ก็เพื่อชำระจิตของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดจนกระทั่งถึงบรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ทรงมอบพระพุทธศาสนาให้เป็นสมบัติของพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งได้บรรลุธรรมระดับใดก็ตามด้วยการเจริญพระกัมมัฏฐานก็ย่อมจะทำให้พุทธบริษัทเหล่าอื่นเกิดความมั่นใจในการเจริญพระกัมมัฏฐานโดยเห็นว่า การเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาจิตของมนุษย์ให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ ผู้ที่เคยเจริญพระกรรมฐานอย่างไร้จุดหมาย หรือมีความท้อแท้หมดกำลังใจในการปฏิบัติก็จะมีกำลังในในการปฏิบัติมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ยังไม่สามารถบรรลุธรมระดับใดระดับหนึ่งก็สามารถพัฒนาจิตของตนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสามารถบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพานได้ สังคมโลกก็จะได้รับประโยชน์ คือ สันติภาพพร้อม ๆ กับผู้ปฏิบัติธรรม ปัญหาต่าง ๆ ที่โลกกำลังประสบอยู่ เช่น การเบียดเบียนกัน การเข่นฆ่ากัน การแย่งชิงผลประโยชน์กัน ก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ เพราะอาศัยบุคคลผู้มีคุณภาพดี มีจำนวนมากขึ้นในสังคม